เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week 1


สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือเรื่อง "การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร" 
ของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช


การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร
การเรียนรู้ คือ กระบวนการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์การเรียนรู้และเพิ่มความสามารถของการเรียนรู้ในอนาคต
การจัดการความรู้เดิมและการจัดระเบียบความรู้
ทำความเข้าใจความรู้เดิมที่มีไม่เพียงพอ
โดยการจัดการเรียนรู้เสริม ยกประเด็นเรื่องการนำความรู้มาใช้งาน มีตัวช่วยให้นักเรียนหลีกเลี่ยงการใช้งานผิดๆ
ระบุวิธีการที่จำเพาะต่อสาขาวิชานั้นๆอย่างชัดเจน
การแก้ไขความรู้ผิดๆ
ให้นักเรียนทดสอบทดลองจริงๆ ให้นักเรียนอธิบายเหตุผลด้วยตนเองเปิดโอกาสนักเรียนใช้ความรู้ที่แม่นยำหลายๆครั้งและให้เวลาไตร่ตรองเรื่องนั้นๆเพื่อให้ใช้ความรู้ตรวจสอบตนเองว่ามีข้อผิดพลาดของความคิดใด
การสร้างแรงจูงใจซึ่งแรงจูงใจเป็นตัวกำหนดทิศทาง ความเอาใจใส่ ความมุ่งมั่นพยายาม แรงจูงใจเป็นเหมือนเป้าหมายการเรียนรู้เมื่อมีเป้าหมายแรงจูงใจก็จะเกิด ถ้ามั่นใจว่าทำได้ ให้คุณค่าก็จะเกิดแรงจูงใจซึ่งนำไปสู่ พฤติกรรมมุ่งเป้าสนับสนุนให้เกิดเป็นการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์
เทคนิคในการช่วยศิษย์ให้รู้จริง ครูต้องแจกแจงแยกแยะงานที่ซับซ้อนออกเป็นทักษะย่อยๆ อย่างเป็นระบบ ให้นักเรียนฝึกทักษะย่อยจนคล่องแคล่วทำเป็นอัตโนมัติ เรียนรู้กาลเทศะในการประยุกต์ใช้ทักษะเหล่านั้น นักเรียนจะพัฒนาการเรียนรู้ให้รู้จริงโดยการฝึกบูรณาการให้เข้ากับกาลเทศะ ฝึกบูรณาการทักษะย่อยและเรียนรู้ทักษะย่อย ขั้นตอนในการพัฒนาจากผู้ไม่รู้ไปสู่ผู้รู้จริง จากขั้นที่ 1 คือ ทำไม่ได้ไม่รู้ตัว (ไม่รู้ว่าไม่รู้) พัฒนาไปสู่ขั้นที่ 2 ทำไม่ได้แต่ว่ารู้ตัว (ทำไม่ได้แต่ว่ารู้) พัฒนาไปสู่ขั้นที่ 3 ทำได้และรู้ตัว (ทำได้โดยต้องตั้งใจทำ) ไปสู่ขั้นสูงสุดคือ ทำได้ไม่รู้ตัว (ทำได้อย่างอัตโนมัติ) เหมือนคนที่ขับรถยนต์เป็น ขับโดยไม่ต้องกำหนดขั้นตอนในใจ ในการพัฒนานักเรียนจากขั้นที่ 1 ไปสู่ขั้นทื่  4 ไม่ว่าเรื่องใดก็ต้องการการฝึกฝนและเวลา
เทคนิคการเป็นครูฝึก เริ่มจากการประเมินพื้นความรู้ของนักเรียนสำหรับใช้กำหนดระดับความท้าทาย ระบุเป้าหมายในรายวิชาให้แจ่มชัด ใช้ Rubric ของการประเมินเพื่อสื่อสารเกณฑ์ของสมรรถนะที่ต้องการอย่างชัดเจน จัดให้มีโอกาสฝึกฝนหลายช่องทาง ใช้เทคนิค Scaffoldind ในการมอบหมายงาน คือครูช่วยมากหน่อยและค่อยๆลดการช่วยลงให้นักศึกษาช่วยตนเองและกำหนดความคาดหวังในการฝึกพร้อมยกตัวอย่างสมรรถนะที่เป็นเป้าหมายให้นักเรียนได้ประจักษ์สิ่งที่ครูไม่ต้องการ ปรับปรุงเป้าหมายให้ชัดและเหมาะสมยิ่งขึ้นในระหว่างที่การเรียนก้าวหน้าไประหว่างเทอม
คำแนะนำป้อนกลับ ชี้ให้เห็นคุณค่าและวิธีคำแนะนำที่เหมาะสมและถูกต้อง ตั้งคำถามถามกลับ ครูให้คำแนะนำสะท้อนกลับ เช่นทำได้ดีในส่วนไหน  ส่วนไหนควรปรับปรุง
การพัฒนาของนักเรียนและบรรยากาศในชั้นเรียนการพัฒนาสมรรถนะ ด้านปัญญา  กายภาพ  และปฏิสัมพันธ์ทางด้านบุคคลด้านการสื่อสารและภาวะผู้นำ การจัดการอารมณ์แสดงออกอย่างเหมาะสมกับทุกสถานการณ์
พัฒนาความเป็นตัวเอง สร้างอัตลักษณ์  พัฒนาจุดหมายในชีวิตและพัฒนาความมั่นคงในคุณธรรม
 บรรยากาศที่มีผลต่อการเรียนรู้
การเรียนรู้ไม่ได้เกิดในสุญญากาศ  แต่เกิดขึ้นในบรรยากาศจริงของรายวิชา  บรรยากาศที่ดีมีผลเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและบรรยากาศที่ไม่ดีมีผลลบซึ่งบรรยากาศอาจเกิดจากลักษณะท่าทางเฉพาะ ท่าทีและปฏิสัมพันธ์ ของนักเรียนกับนักเรียน นักเรียนกับครู
ผู้กำกับการเรียนรู้ของตนเอง
ทักษะการตั้งคำถาม หรือข้อสงสัยเป็นทักษะสำคัญยิ่ง ต่อการเรียนรู้ไม่ว่าเรื่องใด วิชาใด  และคำถามที่ตั้งต่อตนเองมีค่ายิ่งต่อการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงตนเอง

นักเรียนจะมีความรู้จริงได้  เกิดจากการเรียนรู้แบบปฏิบัติ แล้วสะท้อนความคิดด้วยการไตร่ตรองความคิดของตนเอง  ครูทำหน้าที่สะท้อนกลับเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ พร้อมกับให้คำแนะนำที่เหมาะสมและถูกวิธี 

                                                                                                                                          ครูปู


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น